“เชอร์โนบิล” Zone of alienation เมืองร้าง…นิวเคลียร์มรณะ

624

26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant) ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) เกิดการระเบิดขึ้น หลังจากที่มีวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลันแต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับ ไม่ทำงาน มันจึงส่งผลร้ายแรงเหลือคณานับ จนแม้ทุกวันนี้เชอร์โนบิลก็ยังเป็นเสมือนฝันร้ายของมนุษยชาติ

เหตุ ผิดพลาดครั้งนั้น ทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ในโรงไฟฟ้าเกิดระเบิดขึ้น และนั่น…สารกัมมันตภาพรังสีเกือบทั้งหมดแพร่กระจายสู่บรรยากาศ ในรัศมี 30 กิโลเมตรทันที ทั่วบริเวณนั้นมีการเปรอะเปื้อนรังสีอย่างเข้มข้นและกว้างขวาง เชอร์โนบิลต้องถูกประกาศเป็นเขตอันตราย (Zone of alienation) เชื่อหรือไม่ว่า….เหตุระเบิดครั้งนั้นก่อผลกระทบอย่างรุนแรงไปกว้างใหญ่ ไพศาล นั่นเพราะสารกัมมันตภาพรังสีได้ลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร แน่นอนว่ามีการอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คน ออกจากพื้นที่หลังอุบัติเหตุ รัฐบาลยูเครนพยายามปิดข่าวทุกทาง มีการแจ้งเพียงแค่ว่า มีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลงเสียชีวิตจำนวน 31 คน และมีผู้บาดเจ็บจากกัมมันตรังสี 203 คน

ที่น่าตกใจก็คือ ด้วยความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในสมัยนั้น ทำให้รัฐบาลยูเครนสั่งเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เหลืออยู่ต่อไปอย่าง หน้าตาเฉย!? ตั้งแต่ปี 2534 เรื่อยมา จนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 โรงงานแห่งนี้จึงปิดตัวลง ต่อมาในปี 2545 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้สรุปผลความเสียหายว่า มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดโดยตรง 47 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก 9,000 คนจากผลกระทบของเหตุการณ์นี้

จากวันนั้นถึงวันนี้ 2 ทศวรรษกว่าแล้ว หลังการระเบิดของโรงงานพลังไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ซึ่งบัดนี้ได้กลายสภาพเป็นเมืองร้างที่แสนจะวังเวง และติดอับดับพื้นที่ที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งที่ในอดีตนั้น เชอร์โนบิลคือเมืองที่มีความเจริญอย่างมาก จุดเด่นของเมืองนี้คือ เสาชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ที่โดดเด่นงามสง่า และเต็มไปด้วยตึกสูงมากมาย (มีเกมคอมพิวเตอร์ ชื่อ เชอร์โนบิล จำลองฉากมาได้เหมือนเปี๊ยบ) แต่วันนี้เชอร์โนบิลกลับกลายเป็นเพียงซากเหล็กซากปูนที่น่าขนลุกขนพอง กลายเป็นเมืองที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอยู่เหลือรอดเลยในบริเวณรัศมี 19 ไมล์ นอกจากรอบๆ โรงไฟฟ้าและบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงจะเป็นพื้นที่อันตรายที่สุดติดอันดับต้นๆ ของโลกที่อยู่อาศัยไม่ได้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นทุกวันนี้ มันยังคงมีกัมมันตภาพรังสีหลงเหลืออยู่ ทั้งของเหลวเป็นพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอากาศจนไม่สามารถดื่มกินได้เลย

มี การเปิดเผยตัวเลขจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น สรุปได้ที่ยอดโดยประมาณ 6.6 ล้านคน (แต่บางรายงานสรุปว่ายอดสูงกว่านั้น อาจถึง 8 ล้านคน) ซึ่ง 4,000 คนมีสาเหตุจากโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่เหลือเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวบาตร (เกิดมาหัวโตผิดปกติเพราะพ่อแม่ได้รับกัมมันตรังสีไปมาก) นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอีกจำนวนมาก จึงนับว่าเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หายนะภัยเชอร์โนบิลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่าเลยทีเดียว!
เมื่อครั้งที่ครบรอบ 22 ปีเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิล ทั่วโลกมีการจัดงานรำลึก รวมถึงในเมืองไทยด้วย นั่นเพราะว่าประเทศไทยกำลังจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตอัน ใกล้นี้แล้ว จึงมีการถกและเตือนสติกันถึงเรื่องอุบัติเหตุว่าจะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่ จะเกิดขึ้นแบบที่เชอร์โนบิล….แน่ล่ะ หลายคนอดที่จะหวาดระแวง และนึกถึงภาพสยองนั้นไม่ได้ นักสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าการเสนอให้นิวเคลียร์เป็นทางออกด้านพลังงานนั้นเป็น “มายาคติ” เพราะบ้านเราไม่ได้ขาดแคลนพลังงานและน้ำมันถึงขนาดที่จะหาอะไรมาทดแทนไม่ได้ และในเมืองไทยนั้น เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จริงๆ คือก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วน
การแก้ปัญหาด้านพลังงานที่แท้จริงและ ยั่งยืนจึงน่าจะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างพลังงานให้ชาวบ้านได้ใช้กันอย่างหลาก หลายและกว้างขวางมากกว่าทั้งพลังงานแสงแดด ลม น้ำ ชีวมวล ฯลฯ  และต้องมีการวางแผนการใช้พลังงานให้เหมาะสม โดยไม่ไปผูกติดกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งทุกวันนี้มักจะมีการประมาณ การความเติบโตที่สูงกว่าความเป็นจริง ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามักจะวางแผนพลังงานโดยมองถึงความยั่งยืน การจ้างงานในท้องถิ่น และพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนมากกว่า ทุกวันนี้บ้านเรามีการใช้พลังงานเกินจำเป็นไปมากมาย  อย่างในกรุงเทพฯ ที่มีการสรุปค่าการใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ 3 แห่ง ปรากฎว่ามีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัดเสียอีก…น่า ทึ่งจริงๆ

เป็นแบบนี้เลยมีใครบางคน…บางกลุ่ม ซึ่งก็คนในภาครัฐและผู้ได้รับประโยชน์มหาศาลนั่นแหละ พยายามผลักดันและเรียกร้องให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นัยว่าจะเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด ไร้มลภาวะ… แต่เอางี้ก่อนได้ไหม? ก่อนสร้างใครช่วยรับประกันและรับปากประชาชนหน่อย ว่าจะสร้างอย่างมีมาตรฐานสูงสุด สร้างโดยที่ชาวบ้านจะไม่เดือดร้อนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ก่อผลกระทบใดๆ ปลอดภัยสุดๆ ไม่ระเบิดชัวร์! ไม่มีการกินใต้โต๊ะบนโต๊ะหรือคิกไปตามเบี้ยบ่ายรายทางให้งบมาตรฐานความ ปลอดภัยและการก่อสร้างต่ำลง ใครจะยืดอกมารับประกันให้พวกเราได้ว่ากรุงเทพฯ จะไม่เป็นเมืองร้างที่อันตรายติดอันดับโลกแบบเชอร์โนบิลแน่นอน

ก็ แหม…ต้องวอรี่กันนิดนึงนะ เพราะเรื่องงาบงบนี่ไม่เข้าใครออกใคร ขนาดสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 1 ของ กทม. อย่างแท่งเสาโฮปเวลนั่น ยังโทนโท่เป็นศรีสง่าให้คนไทยได้อายชาวโลกกันอยู่เล้ย..