เมืองอเลปโป ดินแดนโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งหนึ่งของโลก เป็นที่ตั้งวิหาร “เทพเจ้าแห่งพายุ” ก่อนการเข้ามาของชาวมุสลิม
บางคนอาจเพิ่งมารู้จักหรือได้ยินชื่อ เมืองอเลปโป ของซีเรีย เมื่อไม่กี่ปีหลังเกิดสงครามกลางเมืองที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย ทั้งที่ความจริงดินแดนแห่งนี้คือเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งหนึ่งของโลก
อเลปโป เป็นเมืองในประเทศซีเรีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอเลปโป ซึ่งเป็นเขตปกครองหนึ่งของซีเรียที่มีประชากรมากที่สุด ด้วยจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการ 2,132,100 คน จากการสำรวจสำมะโนประชากร ใรปี 2004
ก่อนสงครามกลางเมือง อะเลปโปเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ อย่างไรก็ตามตอนนี้อะเลปโปน่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในซีเรียรองจากเมืองหลวง “กรุงดามัสกัส”
อาเลปโป เป็นเมืองโบราณและเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยผู้คนอาจจะอาศัยอยู่มาตั้งแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราช
การขุดค้นที่เตลอัสเซาดะห์ (Tell as-Sawda) และเตล อัลอันซอรี (Tell al-Ansari) ทางตอนใต้ของเมืองเก่าแห่งนี้ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่นี้ถูกครอบครองโดยชาวอะมอไรท์ (Amorites) หรือ บาบิโลเนียน (Babylonians) มาตั้งแต่อย่างน้อยก็ในช่วงหลังของ 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
อเลปโปเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคซีเรียเป็นเวลาหลายศตวรรษ และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของอาณาจักรออตโตมันรองจากคอนสแตนติโนเปิลและไคโร นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในลีแวนต์ (Levant) ก่อนเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย ความสำคัญของเมืองในประวัติศาสตร์ คือที่ตั้งที่เป็นปลายด้านหนึ่งของเส้นทางสายไหมซึ่งผ่านเอเชียกลางและเมโสโปเตเมีย เมื่อเปิดใช้คลองสุเอซในปี 1869 การค้าถูกเบี่ยงเบนไปทางทะเล และอะเลปโปเริ่มถอดถอยอย่างช้าๆ ท่ามกลางการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมันหลัง
วิหาร “เทพเจ้าแห่งพายุ” ในป้อมปราการแห่งอเลปโป
“เทพเจ้าแห่งพายุ” เป็นเทพโบราณที่ปรากฏตัวในพายุฝนฟ้าคะนองที่น่ากลัว และมีความสำคัญต่อการเกษตร เทพเจ้าองค์นี้ได้รับการยกย่องในหลายสถานที่ในตะวันออกใกล้ภายใต้ชื่อที่แตกต่างกัน
และโขดหินที่โผล่ขึ้นบริเวณป้อมปราการแห่งอเลปโปซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในเวลาต่อมา ก็เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ วิหารแห่งนี้หายไปภายใต้การตั้งถิ่นฐานของชาวอิสลาม มันถูกลืมเลือนไปตลอดหลายศตวรรษ
จนกระทั่งถึงปี 1996 การขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวซีเรียและเยอรมันได้เริ่มค้นพบบางส่วนของวิหารขนาดใหญ่ ซากโครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในยุคสำริดตอนต้น (3300-2200 B.C. ) สิ่งที่พบที่สำคัญที่สุดในการขุดค้นพบคือภาพนูนต่ำในยุคสำริดตอนปลายที่แกะสลักจากหินบะซอลต์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฉากทางศาสนาต่างๆ
ในภาพชิ้นหนึ่งเผยให้เห็น เทพแห่งพายุกำลังปีนขึ้นไปบนรถม้าที่ลากด้วยวัว ล้อมรอบด้วยสิ่งรอบข้างของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสัตว์ในตำนาน
ภาพนูนต่ำเหล่านี้ เผยข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับประเพณีทางศาสนาโบราณของภูมิภาคนี้ คาดกันว่าองค์ประกอบของการบูชาเทพเจ้าแห่งพายุยังคงอยู่ในยุคโบราณตอนปลาย ในรูปแบบของการบูชาเทพเจ้าซุส ตามการพิชิตซีเรียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช
อ้างอิง:
– wmf.org
– Wikipedia